|
กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
Mekong - Lancang Cooperation
|
|
|
กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีน กรอบความร่วมมือนี้เป็นข้อริเริมของไทยเมื่อปี 2555 ที่ประสงค์จะพัฒนากรอบความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง โดยเน้นให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาอาเซียน ซึ่งประเทศสมาชิกมีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนากรอบความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และได้ประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายน 2558
|
|
|
แนวทางความร่วมมือของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครอบคลุม 3 ด้าน ซึ่งสอดคล้องกับ 3 เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย
1. การเมืองและความมั่นคง
2. เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การขยายการค้าและการลงทุน
การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านกายภาพและด้านกฎระเบียบ
การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน
การส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ และการจัดการน้ำ
การส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
3. สังคม วัฒนธรรม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
|
|
|
ในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง มีการจัดตั้งคณะทำงาน 6 คณะ เพื่อผลักดันในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. คณะทำงานด้านความเชื่อมโยง
2. คณะทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพในการผลิต
3. คณะทำงานด้านความร่วมมือทรัพยากรน้ำ
4. คณะทำงานด้านการเกษตร
5. คณะทำงานด้านการลดความยากจน
6. คณะทำงานด้านความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน
|
|
|
โดยการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation Foreign Ministers Meeting) กำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ครั้งล่าสุดคือ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 6 ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 และการประชุมสุดยอดแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation Leaders Meeting) กำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี โดยมีกระทรวงต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลัก การประชุมครั้งล่าสุด คือ การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อ "การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Enhancing Partnership for Shared Prosperity)
|
|
|
การประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการเกษตรล้านช้าง-แม่โขง (Lancang-Mekong Cooperation Joint Working Group on Agriculture)
การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 วันที่ 26 ตุลาคม 2563
|
|
|
การประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการเกษตรล้านช้าง-แม่โขง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 เป็นการประชุมทางไกลผ่านทางจอภาพ (Video Conference) ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เป็นผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมด้วยผู้แทนกรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ และสำนักการเกษตรต่างประเทศ
|
|
|
การประชุมดังกล่าวมี Dr. Thatsaka Saphangthong ตำแหน่ง Director General ของ Department of Policy and Legal Affairs กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ Mr.Zhang Lubiao ตำแหน่ง Director General ของ Foreign Economic Cooperation Center กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท สาธารณรัฐประชาชนจีน
|
|
|
ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่เป็นผลจากการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 2 โดยมีโครงการภายใต้ LMC Special Fund ประจำปี 2018/2561 จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
|
|
|
1. Development of Rice Pest and Natural Disasters Monitoring, Forecasting and Warning Center for Sustainable Rice Production under Climate Change in Mekong-Lancang Sub-Region โดยกรมการข้าว
2. Development and Implementation of Common Rice Products Standard in Mekong-Lancang Counties โดยกรมการข้าว
3. Promoting Integrated and Sustainable Agriculture System in Lancang-Mekong Countries โดยกรมพัฒนาที่ดิน
4. Expansion and Development of Forage Seed Trade Cooperation โดยกรมปศุสัตว์
5. Climate Change Adaptation and Food Security for Small Farmers โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
*** หมายเหตุทุกโครงการประสบอุปสรรคในการดำเนินงานเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
|
|
|
โครงการภายใต้ LMC Special Fund ประจำปี 2020/2563 ได้รับการอนุมัติ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
|
|
|
1. Promoting Integrated and Sustainable Agriculture System in Lancang-Mekong Countries โดยกรมพัฒนาที่ดิน (โครงการต่อเนื่อง)
2. Climate Change Adaptation and Food Security for Small Farmers โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน (โครงการต่อเนื่อง)
3. Development and Promotion of Soil Doctor Program for Sustainable Land and Agriculture Management Practices in Lancang-Meknog Countries เสนอโดยกรมพัฒนาที่ดิน
4. Regional Participatory Implementation of Integrated Pest Management System เสนอโดยกรมส่งเสริมการเกษตร
*** โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563
|
|
|
ไทยเสนอโครงการภายใต้ LMC Special Fund ประจำปี 2020/2564 จำนวน 8 โครงการ โดยในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 6 ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ฝ่ายจีนได้แจ้งเวียนรายชื่อโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี 2564 จำนวน 122 โครงการ โดยเป็นโครงการของหน่วยงานไทย 13 โครงการ โดยเป็นโครงการที่เสนอโดยหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
|
|
|
1. Expansion and Development of Forage Seed Trade Cooperation เสนอโดยกรมปศุสัตว์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)
2. Development of Sustainable Green Manure Seed Community in Mekong Region เสนอโดยกรมพัฒนาที่ดิน
3. Research for Appropriate Tree-Based Cropping Systems for Highland Area เสนอโดยกรมวิชาการเกษตร
|
|
|
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบแผนดำเนินงานแม่โขง-ล้านช้างด้านการเกษตร ระยะ 3 ปี 2563-2565 (3-year Plan of Action on Lancang-Mekong Agricultural Cooperation 2020-2022) และสนับสนุนการดำเนินโครงการ LMC Bumper Harvest Projects ภายใต้แผนดำเนินงานแม่โขง-ล้านข้างด้านการเกษตรดังกล่าว
|
|
|
ทั้งนี้ ในการประชุม ฝ่ายไทยได้เสนอให้ยกระดับคณะทำงานด้านการเกษตรเป็นระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส โดยมีหัวหน้าคณะเป็นระดับปลัดกระทรวงหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นกลไกที่เหมาะสมในการรายงานต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี รวมทั้งสามารถจัดตั้งคณะทำงานและองค์กรย่อยภายใต้กรอบความร่วมมือได้
|
|
|
ที่ประชุมเห็นชอบให้สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 4 ในปี 2564
|
|
|
การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 วันที่ 9 ธันวาคม 2564
|
|
|
การประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการเกษตรแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 (4th Meeting of Mekong-Lancang Cooperation Joint Working Group on Agricuture) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ผ่านการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Web*based) โดยมี Dr. Ye Tint Tun ตำแหน่ง Director General, Department of Agriculture กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และชลประทาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และ Mr. Wei Zhengin ตำแหน่ง Deputy Director General, Department of International Cooperation กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมของที่ประชุม
|
|
|
ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าและความท้าทายการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (LMC Special Fund) ของประเทศสมาชิก โดยโครงการของฝ่ายไทย มีดังนี้
|
|
|
โครงการภายใต้ LMC Special Fund ปี 2561/2018 จำนวน 5 โครงการ
|
|
|
1. Development of Rice Pest and Natural Disasters Monitoring, Forecasting and Warning Center for Sustainable Rice Production under Climate Change in Mekong-Lancang Sub-Region โดยกรมการข้าว
2. Development and Implementation of Common Rice Products Standard in Mekong-Lancang Counties โดยกรมการข้าว
3. Promoting Integrated and Sustainable Agriculture System in Lancang-Mekong Countries โดยกรมพัฒนาที่ดิน
4. Expansion and Development of Forage Seed Trade Cooperation โดยกรมปศุสัตว์
5. Climate Change Adaptation and Food Security for Small Farmers โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
|
|
|
โครงการภายใต้ LMC Special Fund ปี 2563/2020 จำนวน 4 โครงการ
|
|
|
1. Promoting Integrated and Sustainable Agriculture System in Lancang-Mekong Countries โดยกรมพัฒนาที่ดิน (โครงการต่อเนื่อง)
2. Climate Change Adaptation and Food Security for Small Farmers โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน (โครงการต่อเนื่อง)
3. Development and Promotion of Soil Doctor Program for Sustainable Land and Agriculture Management Practices in Lancang-Meknog Countries เสนอโดยกรมพัฒนาที่ดิน
4. Regional Participatory Implementation of Integrated Pest Management System เสนอโดยกรมส่งเสริมการเกษตร
|
|
|
โครงการภายใต้ LMC Special Fund ปี 2564/2021 จำนวน 3 โครงการ
|
|
|
1. Expansion and Development of Forage Seed Trade Cooperation เสนอโดยกรมปศุสัตว์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2)
2. Development of Sustainable Green Manure Seed Community in Mekong Region เสนอโดยกรมพัฒนาที่ดิน
3. Research for Appropriate Tree-Based Cropping Systems for Highland Area เสนอโดยกรมวิชาการเกษตร
|
|
|
ล่าสุดได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี 2564 ระหว่างปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 ซึ่งสำนักการเกษตรต่างประเทศได้ส่งสำเนาบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับลงนามให้หน่วยงานที่ดำเนินโครงการแล้ว
|
|
|
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการดำเนินโครงการ LMC Bumper Harvest Projects และการจัดตั้ง Lancang-Mekong Fishery and Aquatic Conservation Cooperation Working Group โดย สกต. ได้ข้อทราบความคิดเห็นจากกรมประมงในการจัดตั้งคณะทำงานด้านดังกล่าว
การประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการเกษตรแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 5 กำหนดจัดขึ้น ณ ประเทศไทย
|
|
|
LMC Bumper Harvest Project
|
|
|
ประเทศจีนต้องการเน้นเรื่องการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากสถาบันของจีน มาใช้ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อผลิตอาหารป้อนตลาดผู้บริโภครายได้ปานกลาง ซึ่งเติบโตรวดเร็วในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจาก (1) พื้นที่เพาะปลูกของจีนมีจำกัด และแรงงานจากภาคเกษตรไหลไปสู่ภาคการผลิตอื่น ทำให้แรงงานด้านการเกษตรขาดแคลนและค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น (2) ความมั่นคงอาหารทวีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้น จากประสบการณ์สงครามทางการค้ากับสหรัฐฯ จีนต้องพึ่งพาการนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ จำนวนมาก (เกือบ 50% ของการนำเข้า) ทำให้ไม่มีอำนาจในการต่อรองแต่อย่างใด ดังนั้น จีนจึงต้องการหาแหล่งอาหารจากประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจีนมีอำนาจในการต่อรองที่ดีกว่า และจีนยังมีอำนาจในการคุมปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงได้อีกด้วย
|
|
|
การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล นายกรัฐมนตรีของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง ได้เน้นให้มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 3 ปี ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรแม่โขง-ล้านช้าง (2020-2022) ซึ่งรวมถึง LMC Bumper Harvest Project การใช้ประโยชน์จากศูนย์ความร่วมมือด้านการเกษตรแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมสร้างขีดความสามารถและการแบ่งปันองค์ความรู้การวิจัยร่วม และส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้โครงการ LMC Bumper Harvest ประสบความสำเร็จ
|
|
|
โครงการ LMC Bumper Harvest มีจุดประสงค์เพื่อบูรณาการโครงการที่มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย 3 Areas และ 16 Project Clusters ดังนี้
|
|
|
Area 1 Crop Production การผลิตพืช
1. Enhancement of food crops production capacity การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตพืชอาหาร
2. Capacity enhancement for fruit and vegetable sectors การเพิ่มขีดความสามารถด้านผักและผลไม้
3. Capacity enhancement for the tropical crops sector การเพิ่มขีดความสามารถสำหรับภาคพืชผลเขตร้อน
Area 2 Animal Production การผลิตสัตว์
4. Cooperation in livestock and poultry production development ความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีก
5. Development of animal disease prevention and control systems การพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมโรคสัตว์
6. Feed processing cooperation ความร่วมมือด้านการแปรรูปอาหารสัตว์
Area 3 Agricultural Modernization การเกษตรสมัยใหม่
7. Agricultural inputs ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
8. Agricultural mechanization เครื่องจักรกลการเกษตร
9. Cooperation in agro-product processing ความร่วมมือในการแปรรูปสินค้าเกษตร
Area 4 Improvement in Market Access and Competitiveness การปรับปรุงการเข้าถึงตลาดและความสามารถในการแข่งขัน
10. Quality standards and safety of agricultural products มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร
11. Agricultural investment and trade promotion การลงทุนด้านการเกษตรและการส่งเสริมการค้า
12. Development of cross-border agricultural e-commerce platforms การพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชทางการเกษตรข้ามพรมแดน
Area 5 Sustainable Agricultural and Development การพัฒนาการเกษตรและชนบทอย่างยั่งยืน
13. Agricultural information exchange and cooperation dialogues การแลกเปลี่ยนข้อมูลการเกษตรและการเจรจาความร่วมมือ
14. Agricultural technology and human resource development เทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
15. Rural development การพัฒนาชนบท
16. Conservation of aquatic resources and sustainable fisher development การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำและการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน
|
|
|
|
|